|
รางจืด ที่ปลูกง่ายตายยาก มากประโยชน์ |
ในแต่ละปีคนไทยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพเป็นแสนล้านบาท
การดูแลสุขภาพตนเองหรือคนในครอบครัวเป็นหนทางหนึ่งในการดูแลพึ่งตนเอง โรคที่ไม่ซับช้อน ไม่มีอันตรายมาก เราอาจใช้สมุนไพร บรรเทาอาการหรือรักษาได้โดยไม่พึ่งยาฝรั่งทีมีราคาแพง ดังที่อาจารย์ประเวศ วะสี เคยพูดว่า คนไทยเวลาจะถ่ายต้องจ่ายเงินให้ฝรั่งมาถ่ายให้
ในครัวเรือนแต่ละบ้านมีพืชสมุนไพรที่ใช้ประจำอยู่มากมายโดยที่เราไม่รู้ หากรู้เราจะได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นอีกมากมาย
วิธีการเตรียมพืชแห้ง
เอาพืชที่ต้องการใช้มาเลือกสิ่งแปลกปลอมออกให้หมด ทำความสะอาด เช่น เปลือกราก เปลือกต้น ล้างหรือขูดผิวนอกออกหั่นเป็นชิ้นตากแดดให้แห้งเก็บเอาไว้ใช้ พวกหัวมัและรากควรเอาไปนึ่งให้สุกก่อนจึงนำไปตากแห้ง พวกผลควรใช้น้ำร้อนลวกแล้วนำไปตากแห้ง พืชที่มีกลิ่นหอมจำพวกใบและดอก ไม่นำไปตากแดดโดยตรง เพราะกลิ่นหอมจะระเหย และสีดอกซีด วิธีที่นิยมคือ แผ่ในกระด้ง หรือตะแกรง ผึ่งไว้ในที่ร่มที่มีลมไกรกประมาณ ๑-๒ สัปดาห์ เก็บใส่ถุงให้มิดชิด หรือทิ้งให้แห้งในตู้เยน สีและกลิ่นจะคงเดิม
|
พืชสวนครัวที่เป็นสมุนไพรในบ้านสามารถเก็บมาใช้ยามจำเป็นโดยไม่ต้องชื้อหา |
การเก็บรักษา
ต้องเก็บในภาชนะที่แห้งมีฝาปิดสนิท หรือในถุงผ้า หรือถุงพลาสติกรัดปากถุงให้แน่นเพื่อกันมอดและแมลงเข้าไปกัดกิน หมั่นนำออกภาชนะปิดสนิทในที่เย็น ถ้าภาชนะเป็นแก้วใสอย่าวางไว้ในที่มีแสงแดดส่องถึง ถ้าจะให้ดีเก็บในห้องมืด และต้องเขียนฉลากระบุชื่อของสมุนไพรปิดไว้ข้างภาชนะเสมอและระบุวันเก็บยานั้นด้วย
การปรุงยาสมุนไพร
ยาชง
สมุนไพรที่มีกลิ่นหอมมักใช้ในรูปชาสมุนไพรชึ่งนอกจากจะแก้กระหายแล้ว การชใช้ดื่มประจำช่วยบำบัดอาการโรคบางชนิดได้ พืชที่นำมาใช้ในรูปยาชงจะต้องไม่มีสารที่ออกฤทธิ์รุนแรงต่อร่างกายสามารถดื่มได้บ่อยๆ โดยไม่จำกัดขนาดใช้ สมุนไพรประเพศที่นำมาแต่งกลิ่นอาหารเช่น ขิง สะระแหน่ เมล็ดผักชี ฯลฯ จึงทำชาได้อย่างดี ชาสมุนไพรที่มีคุณภาพดีมีวิธีการปรุง ดังนี้
พืชแห้งดเป็นผงหยาบ ๑ ซ้อนชา (พืชสดใช้ขนาดสองเท่า ทุบให้ช้ำก่อน)ต่อน้ำเดือด ๑ ถ้วยชา ถ้้าต้องการรสอ่อนให้เติมน้ำมากขึ้น ถ้าเป็นเมล็ดทุบให้แตกใช้ ๑ ซ้อนโต๊ะต่อน้ำ ๓-๔ ถ้วยชา ก่อนชงให้อุ่นภาชนะที่ใช้ควรเป็นกระเบื้องเคลือบหรือแก้ว เติมสมุนไพรลงไปแล้วรินน้ำที่กำลังเดือดตามลงไปในอัตราส่วนที่กล่าวมาแล้วปิดฝาทิ้งไว้ ๑๐-๑๕นาที แล้วรินดื่มขณะร้อน ไม่ควรแช่นานเกินไปเพราะจะทำให้สารอื่นๆที่ออกฤทธิ์ไม่พึงประสงค์ละลายออกมา เช่่น ชาจีนถ้าชงแช่น้ำนานเกินไปจะทำให้ท้องผูก ดังนั้น ถ้าต้องการแก้ท้องเสียควรใช้เวลาต้มชาร้อนนานๆ นอกจากนี้ควรใช้ชาสมุนไพรที่ชงขึ้นสดใหม่ ไม่ใช้กากสมุนไพรหรือน้ำชาข้้ามวัน เพราะชาที่ได้จะบูดเสีย
ยาต้ม
เหมาะสำหรับสมุนไพรที่มีลักษณะแข็ง เ่น ราก เปลือก กิ่ง เมล็ดเปลือกแข็ง ต้องใช้เลาต้มนานและใช้ความร้อนสูงจึงจะสกัดสารในพืชออกมาได้ ภาชนะต้มให้ใช้หม้อดินหรือหม้อเคลือบ ห้ามใช้หม้ออะลูมีเียมหรือโลหะอเทคนิคการเตรียมยาต้ม ได้แก่
- ใส่น้ำให้ท่วมยา ใช้ไฟไม่แรงเกินไป ควรต้มให้เดือดอย่างน้อย ๑๕ นาที ยกเว้นที่บ่งเป็นกรณีพิเศษ
- คอยดูอย่าให้น้ำงวดจนไหม้
- ปกติยาหม้อหนึ่งต้มได้สามครั้ง กินภายในหนึ่งวันแล้วทิ้งไปไม่ใช้ยาข้ามวัน ยกเว้นตำรับยาที่มีการระบุไว้พิเศษ
ขี้ผึ้งสมุนไพร
เหมาะสำหรับตัวยาสมุนไพรบางชนิดที่ไม่ละลายน้ำแต่ละลายในน้ำมันหรือเหล้า เช่น แคปชายซิน มีในพริก หรือน้ำมันหอมระเหยที่ได้จากพืชต่างๆ การเตรียมขี้ผึ้งสมุนไพรมีสองขั้นตอนคือ
- ขั้นตอนการเตรียมขี้ผึ้ง ใช้ขี้ผึ้ง ( beeswax)ผสมกับน้ำมันพืชในอัตราส่วน ๑ต่อ๔ ถ้าต้องการให้เนื้อขี้ผึ้งแข็งก็เติมขี้ผึ้งให้มากขึ้น นำมาอุ่นในหม้ออังไอน้ำคนให้เข้ากัน แล้วยกลงทิ้งไว้สักครู่ หรืออาจใช้วาสลินเปนเนื้อขี้ผึ้งก็ได้
- และขั้นตอนการเตรียมยาสมุนไพร มีหลายวิธีขึ้นอยู่กับตัวยาจำพวกน้ำมันหอมระเหยให้ใช้สมุนไพรมากลั่นโดยตรง พวกที่กลั่นไม่ได้ให้ใช้เหล้าสะกัด นำมาระเหยให้ตัวยาเข้มข้นขึ้น หรือใช้น้ำมันสกัด โดยแบ่งน้ำมันพืชจากอัตราส่วนที่ใช้ทำน้ำผึ้งมาอุ่นกับสมุนไพรก่อนประมาณสองชั่วโมง แล้วกรองเอาแต่น้ำมันไว้ คำนวณปริมาณทั้งสองส่วน เพื่อให้ได้ขี้ผึ้งที่มีตัวยาตามต้องการ แล้วนำมาผสมให้เข้ากัน เทคนิคในการผสมให้แบ่งจำนวนขี้ผึ้งหรือวาสลินให้ไกล้เคียงกับปริมาณตัวยา แล้วผสมให้เข้ากัน แบ่งขี้ผึ้งที่เหลือนั้นมาอีกครั้งให้ไกล้เคียงกับจำนวนที่ผสมอยู่ ผสมให้เข้ากันอีกทำเช่นนี้จนได้เป็นเนื้อเดียวกัน
ยาพอกสมุนไพร
การทำยาพอกด้วยวิธีที่ง่ายที่สุด คือการตำหรือตัด หรือบดสมุนไพรสดๆ ให้ละเอียดเพื่อให้น้ำสมุนไพรออกมา นำมาปิดพอกบริเวณที่เป็น วิธีการเช่นนี้เหมาะสำหรับสมุนไพรที่ไม่มีการระคายเคืองหรือกัดผิวหนัง ส่วนพวกที่ระคายเคืองมากๆเช่น พริก จะทำให้ผิวหนังบวมแดง อาจแก้ไขโดยการห่อผ้าอีกชั้นหนึ่งก่อน หรือใช้นวดผสมกับแป้งหมี่ (อัตราส่วนการผสมขึ้นอยู่กัับความแรงของยาที่ต้องการ)
หากใช้สมุนไพรใดแล้วอาการดีขึ้น ควรจดบันทึกสถาพแวดล้อมอาการและวิธีการใช้เพื่อนำไปเผยแพร่แก่ผ้อื่นต่อไป หรือหากใช้แล้วอาการไม่ดีขึ้น ก็ควรปรึกาผู้รู้เพื่อหาวิธีการรักษาอื่นๆต่อไป